โซลาร์เซลล์
Seville Consulting Industrial ชวนคุยเรื่องโซลาร์เซลล์ ในวันที่โลกเจอ Climate Crisis

ชวนคุยเรื่องโซลาร์เซลล์ ในวันที่โลกเจอ Climate Crisis

โซลาร์เซลล์

            เมื่อภาวะโลกร้อนกำลังพัฒนาไปสู่ปัญหาที่ใหญ่รุนแรงขึ้นอย่าง Climate Crisis หรือวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ยากจะแก้ไข บวกกับวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด ทำให้ช่วง 2 – 3 ปีมานี้ เทรนด์พลังงานสะอาดได้รับความนิยมกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว โดยเฉพาะกับ “โซลาร์เซลล์” แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยอดนิยมที่คนทั่วโลกเลือกใช้ เราเลยถือโอกาสรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเจ้าแผงโซลาร์มาไว้ที่นี่

โซลาร์เซลล์จะก้าวสู้โรงไฟฟ้าไร้มนุษย์ในปี 68

            ประเด็นนี้เกิดจากการคาดการณ์ของหัวเว่ยและพันธมิตร โดยมีใจความว่า ในปี 2568 แวดวงเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือภาระงานในโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กว่า 80% จะไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์อีกต่อไป เพราะความสามารถของ AI และ IoT (Internet of Things) ได้ถูกพัฒนาให้เก่งขึ้นและเหมาะสมกับการทำงานแล้ว ดังนั้นโรงไฟฟ้าต่าง ๆ จึงมีแนวโน้มที่จะนำ AI มาทำงานแทนผู้เชี่ยวชาญด้าน O&M ในแง่ของการวิเคราะห์และการตัดสินใจ รวมทั้งใช้โดรนสำรวจพร้อมหุ่นยนต์ O&M ดูแลงานที่อันตรายหรือต้องทำซ้ำ ๆ ที่ต้องการความแม่นยำสูง เพื่อยกระดับผลิตภาพและความปลอดภัยในโรงไฟฟ้า

โซลาร์เซลล์เริ่มแพร่หลายสู่รายย่อย

ความน่าสนใจของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยอยู่ที่ตอนนี้มันไม่ได้จำกัดแค่บนหลังคาบ้านหรือหลังคาโรงงานอีกต่อไปแล้ว แต่ยังกระจายไปสู่ผู้ใช้งานรายย่อยด้วย อย่างปีที่แล้วที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกระแสคนปิ๊งไอเดียทำรถกาแฟลากจูงจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ทดแทนพลังงานสิ้นเปลืองและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าคนไทยกระตือรือร้นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทีเดียว

โซลาร์เซลล์มีประโยชน์แต่กำลังจะกลายเป็นกองขยะมหาศาล

            จากประเด็นข่าวสารทั้งหมดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่หลายภาคส่วนกำลังรณรงค์ให้คนใช้โซลาร์เซลล์กันมากขึ้น ก็มีอีกหนึ่งประเด็นสวนกระแสออกมาว่าปี 2565 – 2601 จะมีกองขยะที่เกิดขึ้นจากแผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพเกือบ 8 แสนตัน เพราะแม้ด้านหนึ่งมันจะดีกับโลก แต่กระบวนการผลิตแผงโซลาร์นั้น ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงรีไซเคิลล้วนทำให้เกิดสารพิษ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ออกไซด์ แมโมเนีย แคดเมียม เป็นต้น และมันก็มีอายุขัยจำกัด (ประมาณ 20 ปีขึ้นอยู่กับวัสดุในการผลิต) ดังนั้นอีกด้านหนึ่งมันจะกลายเป็นขยะอันตรายที่ย่อยสลายยาก หากไม่จัดการอย่างถูกวิธีก็จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมได้

                อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้โรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์หลายแห่งได้พัฒนาเรื่องสารเคมีที่เป็นพิษให้ลดน้อยลงแล้ว และมีการควบคุมขั้นตอนการผลิต ติดตั้ง รวมทั้งรีไซเคิลอย่างเข้มงวด ทำให้แผงโซลาร์มีคุณมากกว่าโทษ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็น (ว่าที่) ผู้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่หรือรายย่อย ถ้าต้องการทำสิ่งดี ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ควรเลือกใช้บริการจากผู้ผลิตและติดตั้งแผงฯ ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยอย่างกว้างขวางจากหลายประเทศทั่วโลก

โซลาร์เซลล์มาตรฐานโลกต้อง SOLAR PPM

            ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์คุณภาพระดับโลกไว้ที่บ้านหรือในพื้นที่ธุรกิจของคุณ ก็ไม่ต้องไปไกลถึงต่างประเทศ เพราะในไทยมีบริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด หรือ SOLAR PPM ที่คอยให้บริการอยู่ การันตีด้วยการเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบทางวิศวกรรม และงานติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ที่มีคู่ค้าเป็นบริษัทชั้นนำจากหลายประเทศ เช่น Huawei, Trina Solar, Talesun, Clenergy เป็นต้น และยังได้รับ CERTIFICATE อีกหลายฉบับ อาทิ ISO 9001:2015, ISO 18001:2007, มาตรฐาน CE (European Conformity) ฯลฯ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.solarppm.com/

                โซลาร์เซลล์จะสร้างประโยชน์สูงสุดให้คุณและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสูงสุดก็ต่อเมื่อเลือกใช้ชิ้นที่ได้มาตรฐานระดับสากล

Related Post

คุณสมบัติของชุดป้องกันสารเคมีที่ใส่ทำงานได้สบายต้องเป็นแบบไหนคุณสมบัติของชุดป้องกันสารเคมีที่ใส่ทำงานได้สบายต้องเป็นแบบไหน

ลดต้นทุน – เพิ่มประสิทธิภาพให้โลจิสติกส์ด้วย “พาเลท”ลดต้นทุน – เพิ่มประสิทธิภาพให้โลจิสติกส์ด้วย “พาเลท”

เครื่องวัด flow meter แบบ Venturi meter VS เครื่องวัด flow meter แบบ Variable Area Flow Metersเครื่องวัด flow meter แบบ Venturi meter VS เครื่องวัด flow meter แบบ Variable Area Flow Meters